จุดเริ่มต้นในการเล่นหมากล้อม หรือ โกะ
- burit _best
- 17 ก.ค. 2563
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 18 ก.ค. 2563
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://www.thaigo.org/
ต้องเริ่มเท้าความก่อนว่า ในสมัยเด็กป้าของผม จะมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน มาตั้งแต่เกิด โดยพ่อ แม่ผม จะคอยซัพพอร์ต ทางด้านการเงิน ดังนั้นป้าของผม เลยจะส่งผมไปฝึก skill ต่างๆ เช่น เต้น ว่ายน้ำ เรียนจินตคณิต วาดรูป ลงคอร์สภาษาอังกฤษให้ได้คุยกับคนต่างชาติ แบบกลุ่ม เล่นมายากล เล่นเปียโน และท้ายที่สุด การเล่นหมากล้อม สาเหตุหลักที่ต้องให้ผมลง
คอร์สเยอะขนาดนี้ นั่นก็เพราะต้องการให้ผมห่างออกจากหน้าจอคอมและโทรศัพท์ ซึ่งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในช่วงสมัยนั้น จบกับการเกริ่นนำ สู่ช่วงการเริ่มเล่น โดยจะสมมุติชื่อครู ให้ชื่อว่าครู Aและลูกครู A วันแรกของการเล่น ครู A จะปูพิ้นฐาน และกฎกติกา พร้อมกับการแนะนำให้ไปดูอนิเมะที่มีชื่อเรื่องว่า ฮิคารุเซียนโกะ เกมอัจฉริยะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงเรื่องหนึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมหมากกระดานที่ในญี่ปุ่นเรียกว่า โกะ และหนังสือการ์ตูนสร้างยอดจำหน่ายกว่า 22,000,000 เล่มในญี่ปุ่น
โดยจะแบ่งเป็น 2 เดือนในการเล่น
เดือนแรก ของการเล่นหมากล้อม ครู A จะให้ฝึกทำโจทย์ การสอนเดินหมาก พร้อมกับกลยุทธ์ ในการหลอกล่อให้อีกฝ่ายหลงกล และช่วงท้ายก่อนเลิก จะให้เล่นจริง 1 ตา ซึ่งแพ้ทุกตาเลย 555+ หลังจากนั้นจะวิเคราะห์ การวางหมาก ที่ส่งจะผลต่อกระดานทั่้งหมด จุดบอด และ เสนอการตั้งหมากที่ดี ให้ฟัง ซึ่งในตอนนี้ จะเรื่มรู้จักครอบครัวของครู A คนนี้มากขึ้น โดยลูกของครู A ทั้ง 2 คน ล้วนเป็นนักกีฬาหมากล้อม พร้อมทั้งโชว์ถ้วย ที่ไปแข่งรายการต่างๆ มากมาย ซึ่งผมยังไม่เคยประลองกับลูกครูเลย xd และในที่นี้ครู A จะบอกระดับฝีมือหมากล้อม โดยแบ่งได้ดังนี้ โดยในประเทศไทย จะแบ่งระดับฝีมือจะเริ่มต้นที่ 15 คิว เป็นระดับขั้นที่ต่ำที่สุดในระดับคิว และไล่ลงมา 14 13 12 ....ระดับที่สูงที่สุดคือระดับ 1 คิว เมื่อสำเร็จ 1 คิว ระดับขั้นต่อไปคือ 1 ดั้ง ระดับของดั้งจะไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งสูงยิ่งถือว่าเก่ง และการสอบวัดระดับคิว จะต่อหมาก 8 เม็ด โดยในประเทศไทย นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เป็นทั้งนายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย และระดับขั้นสูงสุดที่ได้คือ 6 ดั้ง
เดือนสุดท้าย และ การจากลา ในที่นี้จะบอกประโยชน์ต่างๆ ของการเล่น คือ
การวางแผน การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลที่ไม่ใช่อารมณ ความสำเร็จจะเกิดได้จากการผสมผสานระหว่างนโยบาย , กลยุทธ ,และ ยุทธวิธีการปรับกลยุทธตามสถานการณ์ณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยอมรับความจริงและพร้อมที่จะปรับปรุง การแบ่งสรรปันส่วน : ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ไม่มีทางได้ทั้งหมด เมื่อได้มาก็ต้องเสียไป เมื่อเสียไปแล้วค่อยหาทางได้กลับมา การจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ โดยเฉพาะงานด่วนต้องทำก่อนงานใหญ่เสมอ การจัดดุลยภาพระหว่างเรื่องราวต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องในชีวิต *จบ* กับ story เรื่องราวจุดเริ่มต้นในการเล่นหมากล้อม หรือ โกะ ครั้งต่อไป จะเป็นเรื่องอะไร โปรดติดตามกันต่อไปนะครับ
Comments